Today’s NEWS FEED

News Feed

ช้อปปี้ มัดรวม 8 ‘ทิปส์ขายดี’ จากผู้ขายสู่ผู้ขาย ยกเครื่องความรู้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซให้พร้อมแข่งขันในปี 2567

224




สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(19 ธันวาคม 2566)------หลังจาก ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เปิดตัวโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 ไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในเวลานี้ ช้อปปี้ได้คัดสรรผู้ขายช้อปปี้ที่มีความสามารถมากประสบการณ์ทั้ง 8 ท่าน เพื่อมาร่วมส่งต่อความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างโลกอีคอมเมิร์ซให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับทุกคน

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่บนช้อปปี้และกำลังจะเริ่มทำธุรกิจบนช้อปปี้ ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ CSEP ประจำปี 2566 ได้แบ่งปันกลยุทธ์สู่ความสำเร็จไว้ 8 เรื่อง ที่รวบรวมเทคนิคการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้อย่างครอบคลุม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ค้าออนไลน์ได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับร้านค้าของตนบนโลกอีคอมเมิร์ซที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ในฐานะช่องทางการซื้อสินค้าได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคยุคดิจิทัล
8 กลยุทธ์ยกระดับเกมการตลาดให้ร้านค้าบนช้อปปี้
1. เลือกสินค้ามาขายแบบไม่มโน ด้วยการดูข้อมูลสถิติบนช้อปปี้
เลือกสินค้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และการใช้ Data มาประกอบการตัดสินใจจะช่วยให้ร้านตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ร้านค้าจึงควรเปรียบเทียบความน่าสนใจของสินค้าแต่ละประเภท ด้วยการนำสถิติจากอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ 10 อันดับแรกบนช้อปปี้ มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้
• ประเมินมูลค่าตลาดของสินค้าคร่าว ๆ ผ่านการนำมูลค่ายอดขายต่อเดือนของ 10 อันดับแรกมารวมกัน เพื่อดูว่าตลาดของสินค้านี้มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ และนำใช้ตั้งเป้ายอดขายต่อได้ว่าร้านค้าต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดกี่เปอร์เซ็นต์
• ประเมินมูลค่ายอดขายต่อเดือนของผู้ที่ได้อันดับ 1 เพื่อดูความแข็งแกร่งของเจ้าตลาดว่าครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้เท่าไหร่ และมีพื้นที่ให้ร้านค้าใหม่ ๆ เข้ามาแข่งขันมากน้อยแค่ไหน
• ประเมินมูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น โดยคำนวณจาก 10 อันดับแรก เพื่อวิเคราะห์ว่าช่วงราคาใดที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้ายอดขายที่ตั้งไว้

ร้านค้าสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงสถิติสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ วิธีการคำนวณ และตัวอย่างการนำไปใช้จริงได้ที่นี่

2. เทคนิคสร้างแบรนด์บนอีคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างความแตกต่างและการจดจำ
เริ่มต้นกำหนดทิศทางของแบรนด์ด้วยหลักการพื้นฐานอย่าง STP หรือ Segmentation, Targeting, และ Positioning เพื่อหา Winning Point ซึ่งเป็นจุดร่วมของ 3 สิ่ง ได้แก่ สิ่งที่แบรนด์เราทำได้ดี สิ่งที่ลูกค้าต้องการ และสิ่งที่แบรนด์คู่แข่งไม่มีนั่นเอง
เมื่อได้ Winning Point เรียบร้อยแล้ว ร้านค้าจะต้องนำมาสร้าง Brand Identity หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อใช้สื่อสารในแต่ละ Touch Point โดย 3 สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำแบรนด์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คือ การออกแบบหน้าร้าน การใช้คำ และการใช้ภาพ
• การออกแบบหน้าร้าน: การแต่งหน้าร้านออนไลน์ให้มีบรรยากาศที่สะท้อนความเป็นแบรนด์จะช่วยให้ลูกค้าสนใจและอยากเข้าไปดูสินค้าภายในร้านต่อ ภาพที่แบรนด์สามารถนำมาตกแต่งหน้าร้านได้มีมากมาย เช่น ภาพปกที่แสดงความเป็นแบรนด์ได้ชัดเจน ภาพแนะนำสินค้าหรือคอลเลคชั่นสินค้า ภาพให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เช่น วิธีการใช้งาน คุณสมบัติพิเศษของสินค้า ตลอดจนภาพแนะนำโปรโมชั่นหรือแคมเปญ เป็นต้น
• การใช้คำ: สร้างถ้อยคำอธิบายสินค้าให้โดนใจด้วยหลักการ F-B-A
F – Feature บอกคุณสมบัติของสินค้าให้ครบครัน
B – Benefits บอกประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้า
A – Advantage บอกจุดเด่นที่ทำให้สินค้าหรือแบรนด์เหนือกว่าหรือต่างจากคู่แข่ง โดยจะน่าสนใจยิ่งขึ้นถ้าจุดเด่นนี้สามารถตอบโจทย์ Pain Point หรือปัญหาของลูกค้าได้อีกด้วย
• การใช้ภาพ: ใช้ภาพที่ลูกค้าดูออกได้ทันทีว่าขายอะไร ไม่ใส่รายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปให้รกภาพ คุมสีและโทนของภาพให้เป็นไปตามอัตลักษณ์แบรนด์ และใช้ภาพที่ช่วยสะท้อนไลฟ์สไตล์หรือความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

3. ยิง Ads แบบประหยัดและเห็นผล
สิ่งแรกที่ร้านค้าควรทำเพื่อประสิทธิภาพในการทำโฆษณาหรือการยิง Ads บนช้อปปี้ คือ การสำรวจร้านค้าของตัวเองว่ามีสินค้ามากเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากการยิง Ads ที่ทำให้ผู้ซื้อมองเห็นตัวเลือกหลากหลายในคราวเดียว ทั้งสินค้าหลัก สินค้ารอง และสินค้าเกี่ยวเนื่อง จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มาก ทั้งยังควรเลือกใช้สินค้าที่มีกำไรมากพอ และทำควบคู่ไปกับโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจลูกค้า เช่น Add-on Deal, Bundle Deal, และ Seller Voucher
นอกจากนี้ ควรตั้งงบยิง Ads เอาไว้อย่างชัดเจน สำหรับมือใหม่และร้านที่งบน้อยควรเริ่มยิง Ads ทีละตัวเพื่อศึกษาการทำงานของโฆษณา พฤติกรรมลูกค้า คอยดูผลและปรับโฆษณาทุก ๆ 7 – 14 วันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ที่สำคัญอย่าลืมประหยัดงบยิง Ads ด้วยการใช้ส่วนลดเครดิต Shopee Ads ที่ช้อปปี้มอบให้กับร้านค้า
ร้านค้ายังสามารถประเมินความคุ้มค่าของโฆษณาได้จาก Return on Ads Spend (ROAS) และ Advertising Cost of Sales (ACOS) โดยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการยิง Ads เพิ่มเติม ได้ที่นี่

4. การพิชิตอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์
การเป็นร้านค้าที่มีสินค้าติดแรงค์ขายดีประจำสัปดาห์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้มาก เพราะอันดับการันตี, ยอดขายต่อเดือน, และคะแนนรีวิวจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า นำไปสู่โอกาสการขายที่มากขึ้น โดยมีเช็คลิส 6 ข้อ ที่ผู้ขายควรกลับมาสำรวจและปรับปรุง เพื่อผลักดันสินค้าสู่การเป็นอันดับต้น ๆ ของสินค้าขายดีประจำสัปดาห์
• ภาพสินค้า: ภาพดึงดูดใจ ครบถ้วนและเหมือนสินค้าจริง ทำให้ลูกค้าเห็นการใช้งานในชีวิตประจำวัน
• ชื่อสินค้า: ควรใช้ชื่อที่ลูกค้าใช้เรียกสินค้านั้นจริง ๆ บ่งบอกคุณลักษณะสำคัญให้ครบ และการใส่โปรโมชั่นหรือโค้ดส่วนลดไว้ในวงเล็บ ยังช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี
• รายละเอียดสินค้า: มีครบถ้วนทั้งคุณสมบัติ การใช้งาน เรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ และบริการหลังการขาย โดยข้อมูลที่ครบครันจะช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้า เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า ลดคำถามเกี่ยวกับสินค้า และลดอัตราการคืนสินค้าได้อีกด้วย
• คะแนนและรีวิว: คะแนนสินค้ามากกว่า 4.5 (เต็ม 5) ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและโอกาสการเพิ่มยอดขาย
• Shopee Ads: ใช้โฆษณาภายในแพลตฟอร์มช้อปปี้เพิ่มการมองเห็นสินค้า
• Affiliate Marketing Solution (AMS): โปรโมทผ่านพันธมิตรอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเพิ่มการมองเห็นนอกแพลตฟอร์ม

5. ใช้ Shopee Live ให้ปัง ปิดการขายให้เป็น
ฟีเจอร์ที่มาแรงในเวลานี้ต้องยกให้ Shopee Live ซึ่งสามารถช่วยร้านค้าให้เพิ่มจำนวนผู้มองเห็นร้านค้า เพิ่มผู้ติดตามร้านค้า และเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยการสร้างไลฟ์ก็มีเพียง 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้แก่
• เลือกภาพหน้าปก Shopee Live: ขนาด 720*720 pixel
• สร้างหัวข้อไลฟ์ให้น่าสนใจ เช่น การแจกโค้ดลด 50%
• เพิ่มสินค้าที่ต้องการจะขายใน Shopee Live: เพิ่มได้สูงสุดมากถึง 500 SKU
• เรียงลำดับสินค้า: สินค้าขายดีควรอยู่ด้านบนให้เห็นง่าย
สิ่งสำคัญในการไลฟ์ขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมและนำเสนอเรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ให้น่าสนใจ นอกจากนี้ ช้อปปี้ยังมีเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ชม เพิ่มการมีส่วนร่วม และช่วยปิดการขาย ได้แก่
• กดแจ้งเตือนไปยังลูกค้าบน Shopee และโปรโมทไลฟ์ไปยัง Social Media ของร้านค้า
• ใช้ฟีเจอร์แจก Coins ช่วยดึงดูดลูกค้า ทั้งนี้ ควรตั้งงบประมาณการแจก Coin ในแต่ละไลฟ์ไว้ก่อน
• ดึงดูดลูกค้าให้อยู่ในไลฟ์นานขึ้น ด้วยการแบ่งทำโปรโมชั่นเป็นช่วง ๆ เอนเตอร์เทนต์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกสินค้ามานำเสนอ
• มัดใจด้วยโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะในไลฟ์ โดยควรบอกราคาพร้อมส่วนลด เปรียบเทียบส่วนต่างให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน คำนวณราคาที่ลดแล้วเพื่อแสดงถึงความคุ้มค่า และควรบอกโปรโมชั่นที่ลูกค้าจะได้รับทั้งหมดภายในไลฟ์เป็นระยะ ๆ
• กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ด้วยการแจ้งให้ผู้ชมทราบถึงข้อจำกัดในการรับความคุ้มค่า เช่น ระยะเวลาการกดซื้อเฉพาะในไลฟ์ จำนวนสินค้าที่จะนำมาขายในไลฟ์ รวมถึงแจ้งจำนวนสินค้าที่ขายออกไปแล้วเป็นระยะ ๆ ให้เห็นว่าสินค้าเหล่านั้นกำลังได้รับความนิยม

6. สร้างวิดีโอขายสินค้าให้น่าสนใจ
วิดีโอนำเสนอสินค้าเป็นอีกเครื่องมือที่สามารถจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับสินค้าที่มีราคาสูง มีอุปกรณ์จำนวนมาก มีคุณสมบัติหรือฟีเจอร์ที่มีความเฉพาะตัวซึ่งร้านค้าต้องการนำเสนอหรือลูกค้าต้องการทราบ หรือมีวิธีการใช้งานที่ลูกค้าต้องศึกษาใหม่เป็นพิเศษ โดยร้านค้าควรให้ความสำคัญกับคุณภาพที่คมชัดของภาพและเสียง เปิดคลิปช่วง 10 วินาทีแรกให้น่าสนใจ และไม่ขายตรงจนเกินไปนั่นเอง

7. ใช้ ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ ให้มีประสิทธิภาพ
‘ส่งฟรี’ เป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ด้านส่วนลด Cash Back หรือ Coin เป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน และเมื่อเข้าร่วมโปรแกรม ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ แล้ว ร้านและสินค้าจะได้รับการติดป้ายแท็กพิเศษซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้าและกระตุ้นยอดขายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นของร้านค้า โอกาสเข้าร่วมแคมเปญ โอกาสรับสล็อต Flash Sale และยังได้รับส่วนลดเครดิตโฆษณา Shopee Ads อีกด้วย
ทั้งนี้ ร้านค้าควรพิจารณาเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ตามงบประมาณการทำการตลาดที่กำหนดเอาไว้ และคำนึงถึงการกระตุ้นให้ลูกค้าเพิ่มมูลค่าในการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใน 1 ครั้ง (Basket Size) ร่วมด้วย

8. แนวทางบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ฉบับพนักงานประจำ
หลาย ๆ คนต้องการสร้างรายได้จากหลายช่องทางทั้งเพื่อความมั่นคงและมั่งคั่ง และการขายของออนไลน์ก็เป็นอีกอาชีพเสริมที่มีความยืดหยุ่นสูงและผู้ขายสามารถบริหารจัดการเวลาให้ไม่กระทบงานหลักได้ โดยสิ่งที่เจ้าของธุรกิจออนไลน์ต้องทำในแต่ละวัน และแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้
กิจวัตรประจำวันของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:
• จัดการคำสั่งซื้อ: ควรแบ่งเวลาก่อนทำงานและหลังทำงานเพื่อแพ็คสินค้าและนำส่งสินค้าเป็นประจำ
• โปรโมทสินค้า: ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการกดโปรโมทสินค้า ซึ่งทำได้ทุก ๆ 4 ชั่วโมง
• ตอบแชทลูกค้าและจัดการรีวิว: ในเวลาว่างควรเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความประทับใจที่ดี ทั้งนี้ หากร้านค้ามีการให้ข้อมูลที่ครบครันอยู่แล้วก็จะลดเวลาที่ร้านใช้ในการถามตอบได้
• ติดตามเป้าหมายประจำวัน: แบ่งเวลาตามความสะดวก เพื่อเข้ามาประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาร้านค้าต่อไป
กิจวัตรประจำสัปดาห์ของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:
• จัดการคลังสินค้า: เติมของให้พร้อมขายเสมอ
• ตกแต่งร้านค้าและพัฒนาสินค้า: จัดทำอาร์ตเวิร์กและแคปชั่นต่าง ๆ และอัปเดตร้านค้าให้สวยงามและน่าดึงดูดอยู่เสมอ
• วางแผนการโปรโมท: วางแผนแคมเปญ การทำโปรโมชั่น และการแจกโค้ดส่วนลด
• ติดตามเป้าหมายประจำสัปดาห์: ประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ

นี่เป็นเพียงสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 นำมาแบ่งปันกับผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ทุกท่าน ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://seller.shopee.co.th/edu/blog/400

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

พระโค By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ วันนี้ วันพืชมงคล พระโค กินน้ำ หญ้าและเหล้า ส่วนตลาดหุ้นไทย วันนี้ ยังคงซึม ท่ามกลาง ....

IND เยี่ยมชมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

IND เยี่ยมชมโครงการก่อสร้างทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้