Today’s NEWS FEED

News Feed

ส.อ.ท. หวั่นปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกระทบต้นทุนผลิต แนะรัฐยึดหลักการจ่ายค่าจ้างตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill)

289

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(29 พฤศจิกายน 2566)---นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 35 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ภายใต้หัวข้อ "ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างไรให้ลูกจ้างและนายจ้างอยู่รอด" พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มีความกังวลถึงกรณีที่หากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ในอัตราที่สูงเกินไป รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับภาระในการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานเดิมตามฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จะสร้างแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจากผลสำรวจปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีต้นทุนแรงงานอยู่ที่ 11 – 20% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอให้ภาครัฐพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ โดยยึดหลักการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) เพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนาทักษะแรงงาน และควรมีมาตรการส่งเสริมกลไก Pay by Skill โดยเฉพาะการเร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
 
นอกจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่แล้ว ผู้บริหาร ส.อ.ท. เห็นว่า ภาครัฐควรจะต้องแก้ไขปัญหาปากท้องของแรงงานในระยะยาวควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการดูแลลดค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ลดค่าโดยสารสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งมีการกำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควบคุมให้มีการปรับราคาสินค้าขึ้น-ลงตามต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้แรงงานมีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับตลาดอีกทางหนึ่งด้วย
 
นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่มองว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการใช้แรงงานในภาคการผลิตอยู่ แต่จะเริ่มมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนการใช้แรงงานคนมากขึ้น ในอัตราส่วนไม่เกิน 20% ของการใช้แรงงานคนในปัจจุบัน  
   
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 256 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก
46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 35 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
1.  ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนค่าแรงงานคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
อันดับที่ 1 : 11 - 20%  33.0% 
อันดับที่ 2 : 21 - 30%  25.3%
อันดับที่ 3 : 31 - 40%  17.6%
อันดับที่ 4 : มากกว่า 40%     12.6%
อันดับที่ 5 : น้อยกว่า 10%    11.5%
 
2.  ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อกรณีหากมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไปอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : กดดันต้นทุนการผลิตจนทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้า   66.7%
                และส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
อันดับที่ 2 : ภาระในการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานเดิม ที่จะต้องปรับขึ้น   63.6%
                ตามค่าจ้างขั้นต่ำใหม่
อันดับที่ 3 : ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกลดลง   57.9%
อันดับที่ 4 : อัตราการจ้างงานลดลงจากการปรับลดแรงงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กร   38.7%
                และยกระดับระบบสวัสดิการแรงงาน
 
3.  แนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบใดเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
อันดับที่ 1 : ใช้การจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill)   45.3%
                สำหรับแรงงานที่มีฝีมือเพื่อจูงใจให้พัฒนาทักษะ     
อันดับที่ 2 : ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามสภาพเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด   35.6%
                โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด 
อันดับที่ 3 : ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว   17.2%
อันดับที่ 4 : ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ   1.9%
 
4.  ภาครัฐควรส่งเสริมกลไกการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ (Pay by Skill) อย่างไร
(Multiple choices)
อันดับที่ 1 : เร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาอาชีพ  62.1%
อันดับที่ 2 : สามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน       60.9%
                ไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
อันดับที่ 3 : สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน         48.3%
                เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ
อันดับที่ 4 : จัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการฝึกอบรมให้แก่แรงงานที่ต้องการพัฒนา       46.4%
                 ฝีมือแรงงาน
 
5.  นอกจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาปากท้องของแรงงานในระยะยาวอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ลดค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ลดค่าโดยสารสาธารณะ ค่าน้ำ  69.3%
                ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
อันดับที่ 2 : กำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม     65.9%
                และควบคุมให้มีการปรับราคาขึ้น/ลงตามต้นทุนที่แท้จริง
อันดับที่ 3 : สนับสนุนให้เกิดการสร้างงานใหม่ๆ ผ่านโครงการรัฐ และพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพ    39.8%     
           ให้กับชุมชน
อันดับที่ 4 : เพิ่มสวัสดิการให้กับแรงงานในระบบประกันสังคม เช่น เงินอุดหนุนการศึกษาบุตร   36.4%
                เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น      
 
6.  ใน 3 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมมีแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของการใช้แรงงานคนในปัจจุบัน
อันดับที่ 1 : น้อยกว่า 20%    34.9% 
อันดับที่ 2 : 21 - 30%  26.4%
อันดับที่ 3 : มากกว่า 50%     16.1%
อันดับที่ 4 : 31 - 40%  13.0%
อันดับที่ 5 : 41 - 50%   9.6%

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ไต่เส้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองดูหุ้นไทยไต่เส้น แถว 1370 +/- แบบพยาบามฝ่าด่าน 1380 จุด โดยเช้านี้ พี่ DELTA..

ต่างชาติ ลุยซื้อหุ้นไทย By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม เห็นนักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อหุ้นไทย วานนี้ จัดไป เกือบ 3,600 ล้านบาท ส่วนในประเทศ พร้อมใจขายอย่าง...

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้