Today’s NEWS FEED

News Feed

ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิต SCGP เป็น ‘A(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

760

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(29 พฤศจิกายน 2566)--- บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิ รวมถึงอันดับเครดิตภายในประเทศของโครงการหุ้นกู้ระยะกลาง   (Medium-Term Note Program) มูลค่ารวมสี่หมื่นล้านบาท ของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เป็น ‘A(tha)’ จาก ‘A+(tha)’   แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

 

การปรับลดอันดับเครดิตของ SCGP เป็นไปตามการปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทแม่ ซึ่งได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ  SCC เป็น ‘A(tha)’ จาก ‘A+(tha)’  ปัจจุบันอันดับเครดิตของ SCGP สะท้อนสถานะเครดิตโดยลำพัง (Standalone Credit Profile: SCP) ที่ ‘a(tha)’ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตของบริษัทแม่ การปรับลดอันดับเครดิตของ SCC สะท้อนถึงอัตราส่วนหนี้สินที่สูงในช่วง2-3ปีข้างหน้าเนื่องจากธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของ SCC ที่อ่อนแอ

 

สถานะเครดิตโดยลำพัง (Standalone Credit Profile) ของ SCGP ที่ ‘a(tha)’ สะท้อนถึงสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในฐานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน โดยบริษัทมีกระแสเงินสดที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งซึ่งทำให้สถานะทางเครดิตของ SCGP สามารถรองรับผลการดำเนินงานที่อ่อนแอของกิจการในประเทศอินโดนีเซียได้ในช่วงที่อุปสงค์ลดลงและมีอุปทานส่วนเกิน

 

ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต

การลดลงของอัตราส่วนหนี้สินที่ล่าช้าของบริษัทแม่ – ฟิทช์คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ SCC จะฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ 3.9 หมื่นล้านบาทในปี 2566 และ 5.8 หมื่นล้านบาทในปี 2567 จากระดับ 3.6 หมื่นล้านบาทในปี 2565 โดยอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (หลังรวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วมและหักเงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) หรือ EBITDA net leverage จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5.9 เท่าในปี 2566 ก่อนที่จะลดลงอยู่ที่ประมาณ 4.3 เท่าในปี 2567 (2565 อยู่ที่ 5.7 เท่า) ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินจะลดลงอยู่ที่ระดับประมาณ 3.5 เท่าในปี 2568 แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงด้านลบ ซึ่งรวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ช้ากว่าคาดและจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์เคมี และความต้องการของบรรจุภัณฑ์

 

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป – ฟิทช์คาดว่า EBITDA  Marginของ SCGP จะยังคงถูกกดดันในช่วงอีก 12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากสภาวะอุปทานส่วนเกินในตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปยังประเทศจีนที่ลดลงอย่างมาก ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และส่งผลกระทบต่อราคาขาย ฟิทช์เชื่อว่าราคาขายของผลิตภัณฑ์ส่งออกไปยังประเทศจีนจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะทำให้ EBITDA  Margin ของ SCGP ปรับตัวดีขึ้น ในช่วงสองปีข้างหน้า ฟิทช์ยังคาดว่าภาวะเงินเฟ้อลดลงในประเทศไทย การบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเช่นเดียวกัน

 

ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน – สถานะเครดิตโดยลำพังของ SCGP สะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำตลาด ในฐานะผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน    SCGP มีกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษขั้นปลายประมาณ 6.0 ล้านตันต่อปี ในปี 2566 กำลังการผลิตสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์พลาสติกของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำ หลังจากการเข้าซื้อกิจการ

 

ค่าใช้จ่ายลงทุนที่สูงแต่สามารถบริการอัตราส่วนหนี้สินได้ – EBITDA net leverage ของ SCGP มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2567 จากความเป็นไปได้ในการลงทุนจำนวนประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจำนวณร้อยละ 44.48 เป็นร้อยละ 99.71 ของ PT Fajar Surya Wisesa Tbk (Fajar) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCGP ในประเทศอินโดนีเซีย โดย SCGP คาดว่าคาดว่าพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจ Fajar มีโอกาสสูงที่จะใช้สิทธิในการขายหุ้น (put option) ในช่วงกลางปี 2567  ฟิทช์เชื่อว่าอัตราส่วนหนี้สินที่อยู่ในระดับต่ำของ SCGP ก่อนการเข้าลงทุนนี้จะช่วยให้ SCGP มีความสามารถในการรองรับผลกระทบจากหนี้สินสุทธิที่จะปรับตัวสูงขึ้น และยังคงรักษาอัตราส่วนหนี้สินให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับอันดับเครดิตโดยลำพังของบริษัทฯ

 

ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอ – ฟิทช์คาดว่า SCGP จะเพิ่มกำลังการผลิตและความหลากหลายของสินค้าในช่วงสามถึงห้าปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้า และความต้องการซื้อของลูกค้าในผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ประมาณร้อยละ 70 ของรายได้จากบรรจุภัณฑ์ของ SCGP มาจากกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภค บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการซื้อที่ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจและมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง  นอกจากนี้ ธุรกิจของ SCGP ยังได้รับประโยชน์จากการขยายสายการผลิตสินค้าไปยังสินค้าขั้นต้น  (Vertical Integration) เช่น กระดาษบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถลดผลกระทบต่ออัตราส่วนกำไรจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบได้ในระดับหนึ่ง

 

ความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในระดับปานกลาง – แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนต่อ SCGP จากความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์จาก SCC เป็นผลมาจากสัดส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ SCGP ต่อ EBITDA  รวมของกลุ่มที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงที่ประมาณร้อยละ 30 เนื่องจากธุรกิจของ SCGP เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักของ SCC  นอกจากนี้ SCC ยังได้รับประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ มายังธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของ SCGP เนื่องจากกลุ่มธุรกิจอื่นของ SCC ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ และกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เป็นธุรกิจที่มีความผันผวนมากกว่าธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของ SCGP

 

ความสัมพันธ์ด้านการดำเนินงานในระดับปานกลาง – ฟิทช์พิจารณาแรงจูงใจในการให้การสนับสนุนจากความสัมพันธ์ด้านโครงสร้างการบริหารและการใช้แบรนด์ร่วมกัน (Management and Brand Overlap) อยู่ในระดับสูง และความสัมพันธ์ด้านการดำเนินงาน (Operational Synergies) อยู่ในระดับต่ำ  โดยการตัดสินใจทางการบริหารและกลยุทธ์ของ SCGP มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ SCC และบริษัทย่อยของ SCC จะใช้แบรนด์สินค้าหลักร่วมกันภายใต้แบรนด์ “SCG” ของบริษัทแม่    อย่างไรก็ตาม  ความสัมพันธ์ด้านการดำเนินงาน (Operational Synergies) ที่อยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมากจากการที่ SCC และ SCGP ดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทแม่ จากการดำเนินงานของ SCGP มีไม่มากนัก

 

การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป

สถานะเครดิตโดยลำพังของ SCGP ใกล้เคียงกับอันดับเครดิตของบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ SCCC (‘A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ)  โดยอันดับเครดิตของบริษัททั้งสองเได้รับการสนับสนุนจากสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในกลุ่มธุรกิจของตนเอง SCCC เป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่อันดับสองของประเทศไทย แต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทมีความอ่อนไหวในช่วงเศรษฐกิจขาลงมากกว่า SCGP เนื่องจาก SCCC มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ SCGP มีการกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์และกลุ่มธุรกิจของลูกค้าที่หลากหลายกว่า รวมถึงมีความต้องการซื้อจากลูกค้าที่มีความสม่ำเสมอมากกว่า ส่งผลให้ SCGP สามารถรองรับอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า SCCC ที่อันดับเครดิตเดียวกัน

 

SCGP มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าบริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG (‘A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ)  ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตฉนวนยางกันความร้อน/เย็น ที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ประเภท EPDM, ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ในเชิงรายได้ และEBITDA  EPG มีธุรกิจปลายทางที่กระจายตัวมากกว่า แต่ถูกลดทอนโดย สถานะผู้นำตลาดในธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนของ SCGP  SCGP มีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า EPG แต่ด้วยสถานะทางธุรกิจที่ดีกว่า ทำให้ SCGP มีอันดับเครดิตที่สูงกว่า EPG อยู่หนึ่งอันดับ        

 

สมมุติฐานที่สำคัญ

สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ

-               รายได้ลดลงประมาณร้อยละ 12 ในปี 2566 (ปี 2565 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 18) เนื่องจากปริมาณการขาย และราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง รายได้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 ต่อปีในปี 2567-2568

-               EBITDA Margin อยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 12 ในปี 2566 (ปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 12) และจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 15 จากการฟื้นตัวของราคาขายและการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง

-               ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาทในปี 2567 และประมาณ 6 พันล้านต่อปีหลังจากนั้น

-               อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout) ที่ระดับร้อยละ 40

 

ปัจจัยที่อาจมีผลกับอันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยบวก:

-               การปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SCC โดยที่แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนจาก SCC ต่อ SCGP ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

-               การปรับเพิ่มของสถานะเครดิตโดยลำพังของ SCGP

ปัจจัยลบ:

-               การปรับลดสถานะเครดิตโดยลำพังของ SCGP ในขณะที่แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนจาก SCC ต่อ SCGP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับสถานะเครดิตโดยลำพังของ SCGP

ปัจจัยบวก: 

-               สถานะทางธุรกิจที่ดีขึ้น และขนาดของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยวัดจาก EBITDA ที่สูงขึ้น และการกระจายความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ที่ดีขึ้นและมีประเภทสินค้าที่หลากหลายขึ้น

ปัจจัยลบ:

-               EBITDA net leverage อยู่ในระดับสูงกว่า 3.5 เท่า อย่างต่อเนื่อง

 

สำหรับอันดับเครดิตของ SCC ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคตได้แสดงในรายงานอันดับเครดิตของฟิทช์ดังนี้

ปัจจัยบวก: 

-               อัตราส่วน EBITDA net leverage ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 3.5 เท่า อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยลบ:

-               กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ปรับตัวลดลง หรือการลงทุนโดยให้แหล่งเงินทุนมาจากการกู้ยืม ซึ่งส่งผลให้ EBITDA net leverage สูงกว่า 4.5 เท่า อย่างต่อเนื่อง

-               สถานะทางธุรกิจที่อ่อนแอลง ซึ่งสะท้อนโดย EBITDA ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

สภาพคล่อง

สภาพคล่องเพียงพอ: SCGP มีหนี้สินที่ครบกำหนดชำระในอีก 12 เดือนข้างหน้าจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2567 จำนวน 2.1 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้นสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และเงินกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดชำระประมาณ 6.6 พันล้านบาท    สภาพคล่องของ SCGP ได้รับการสนับสนุนจาก เงินสดในมือจำนวนประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและเงินปันผล ( Neutral Free cash flow) ในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ฟิทช์คาดว่า SCGP จะสามารถเข้าถึงแหล่งกู้ในประเทศ เพื่อใช้ในการลงทุนใน Fajar เนื่องจากบริษัทฯมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่แข็งแกร่ง

 

เกี่ยวกับบริษัท

SCGP เป็นบริษัทย่อยหลักของ SCC ในการดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง SCC เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย SCGP เป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

อันดับเครดิตที่เกี่ยวโยงกับอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตของ SCGP เกี่ยวโยงกับอันดับเครดิตของ SCC

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

ตามผลงาน By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม วันนี้ จะเล่น จะเทรดหุ้นเก็งกำไร ก็ควรเลือกหุ้น ตัวที่มีผลกำไรดีกว่าตลาดคาด เหนือกว่าตลาดหวัง .....

NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 1/2567

NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 1/2567

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้