21 พ.ย. 2566 10:35:37 449
GDP ไตรมาสสามขยายตัว +1.5% YoY ต่ำกว่าตลาดคาด• GDP ไตรมาสสาม ขยายตัว 1.5% YoY จาก 1.8% ไตรมาสก่อน และต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.2% ดังนั้น ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี GDP ขยายตัว 1.9% ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อนหลังปรับฤดูกาลจะพบว่า GDP ยังมีโมเมนตัมที่เป็นบวก (+0.8% QoQ, SA vs. +0.2% ไตรมาสก่อน) • ด้านการผลิต : ทั้งการผลิตภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรชะลอลงจากไตรมาสสอง ภาคเกษตร : การผลิตหมวดเกษตรขยายตัว 0.9% YoY ชะลอลงจาก 1.2% ไตรมาสก่อน ตามการชะลอลงของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมง ขณะที่ผลผลิตในหมวดพืชหลักลดลง อาทิ ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น ภาคนอกเกษตร : หมวดบริการขยายตัว 3.9% (vs. +4.0% ไตรมาสก่อน) ตามการชะลอลงในกิจกรรมสาขาหลัก อาทิ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (+14.9% vs. +15.1% ไตรมาสก่อน) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า (+6.8% vs. +7.4% ไตรมาสก่อน) และสาขาการขายส่งและการขายปลีก (+3.3% vs. +3.4% ไตรมาสก่อน) ส่วนหมวดอุตสาหกรรมหดตัว -2.8% (vs. -2.0% ไตรมาสก่อน) จากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการส่งออกที่อ่อนแอลง • ด้านการใช้จ่าย : การใช้จ่ายภาครัฐอ่อนแอ ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนเติบโตได้ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ ด้านสินค้าคงคลังเป็นปัจจัยหลักฉุด GDP อุปสงค์ต่างประเทศ : การส่งออกสินค้ายังคงหดตัว (-3.1% vs. -5.7% ไตรมาสก่อน) ส่วนการส่งออกบริการแผ่วลง แต่ยังขยายตัวในระดับสองหลัก (+23.1% vs. +53.4% ไตรมาสก่อน) อุปสงค์ในประเทศ : การใช้จ่ายภาครัฐอ่อนแอ (การลงทุน -2.6% YoY vs. -1.1% ไตรมาสก่อน, การบริโภค -4.9% vs. -4.3% ไตรมาสก่อน) ส่วนการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นทั้งในส่วนการบริโภค (+8.1% vs. +7.8% ไตรมาสก่อน) และการลงทุน (+3.1% vs. +1.0% ไตรมาสก่อน) ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลัง : ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลังฉุด GDP ในไตรมาสนี้ 7.1ppt อิงจากการคำนวณของเราพบว่า• ในส่วนประมาณการเศรษฐกิจ สศช. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 2.5% จากในกรอบ 2.5-3.0% จากการปรับลดคาดการณ์ในส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ (ทั้งการบริโภคและการลงทุน) และการส่งออกสินค้า ขณะที่ได้เปิดเผยประมาณการปีหน้าเป็นครั้งแรก คาด GDP ขยายตัวในกรอบ 2.7-3.7%
Our view• สาเหตุที่ GDP ออกมาแย่กว่าคาด (1.5% vs. ESU คาด 3.3%) เกิดจากการฉุดของส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลังและการบริโภคภาครัฐเป็นหลัก ทั้งนี้ หากเรายังคงประมาณการ GDP ใน 4Q23F ไว้เช่นเดิมที่ 4.4% จะส่งผลให้ GDP ในปีนี้ขยายตัวที่ 2.6% (vs. จากเดิมคาด 3.0% ในเดือน ส.ค.) สำหรับในปี 2024F คาดเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.5%• ในปีหน้า เรามองว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม กล่าวคือ 1) ความรวดเร็วในการอนุมัติงบประมาณ FY2024 (ปัจจุบันคาดบังคับใช้ภายในเดือน พ.ค. 2024) และ 2) การผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (กล่าวคือ Digital Wallet, กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ และ e-Refund) ให้สำเร็จ
: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์
นายกล้วยหอม วันนี้ นักลงทุน ยังคงไม่ผลีผลาม ตะลุมบอนหุ้น แบบว่า ต่อสู้กับเกมหุ้น ไปต่อ อย่างมีสติ สัปดาห์หน้า....
Hooninside
สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้
ชื่อหรือรหัสของคุณไม่ถูกต้อง
Please, check your email format before submit.
Please, Enter you password.
Please, Enter minimum 3 character.
Please, Enter minimum 6 character.
กรุณากรอกอีเมล์ที่คุณใช้สมัครสมาชิกแล้วกดส่งเมล์