กำไรสุทธิ 4Q66 เติบโตตามคาด
กำไรสุทธิงวด 4Q66 (ก.ค. – ก.ย. 66) ตามฝ่ายวิจัยและ BLOOMBERGCONSENSUS คาดที่ราว3.4 พันล้านบาท (+9%QoQ, Turnaround YoY) โดยรายได้รวมเท่ากับ 1.5 หมื่นล้านบาท (+19% QoQ, +134% YoY) สูงกว่าคาด12% จากรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์(Duty free และอื่นๆ) ชดเชย OPEX สูงกว่าที่ประเมิน 11% มาอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท (+26% QoQ, +37% YoY) หลักๆ เป็นเพราะค่าใช้จ่ายพนักงานที่ 4 พันล้านบาท (+54% QoQ, +93% YoY) เร่งตัวตามฤดูกาล รายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
รายได้เกี่ยวกับกิจการการบิน (Aeronautical Revenue) ตามคาดการณ์อยู่ที่6.3 พันล้านบาท (+4.2% QoQ, +102% YoY) จากค่าบริการสนามบินที่ 1.3พันล้านบาท (+3.4% QoQ, +162% YoY) และค่าบริการผู้โดยสารขาออกที่ 4.9พันล้านบาท (+4.6% QoQ, +95.1% YoY) เป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณเที่ยวบินที่ 1.65 แสนเที่ยวบิน (+3% QoQ, +35% YoY) และจำนวนผู้โดยสารรวม6 สนามบิน (ขาเข้า + ขาออก) ที่ 25.7 ล้านคน (+3.0% QoQ, +47.8% YoY) หนุนด้วยผู้โดยสารระหว่างประเทศที่ 15.0 ล้านคน (+7.6% QoQ, +102% YoY) หลังผ่าน Low season ของเที่ยวไทย ทดแทนผู้โดยสารในประเทศที่ 10.7 ล้านคน(-3% QoQ, +7% YoY)
รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน (Non - Aeronautical Revenue) มากกว่าที่ประเมิน 24% เท่ากับ 9 พันล้านบาท (+31% QoQ, +164% YoY) หลักๆ มาจากรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์สูงกว่าคาดการณ์ 24% มาที่ 5.6 พันล้านบาท(+34.5% QoQ, +220.9% YoY, เกิน Pre-COVID) หลักๆ มาจาก Duty Freeสุวรรณภูมิ(สัดส่วนราว 40% -60% ของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์) และรายได้เกี่ยวกับการบริการที่ 2.4 พันล้านบาท (+6.6% QoQ, +78.6% YoY)
ทั้งนี้ AOT ยังคงมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ ผ่านการเลื่อนชำระและแบ่งชำระส่วนต่างของค่าผลประโยชน์ตอบแทนจาก ส่วนแบ่งรายได้เทียบกับผลตอบแทนขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) ระหว่าง พ.ย. 66 – เม.ย. 67 โดยกรณีที่ส่วนแบ่งรายได้ ต่ำกว่า Minimum Guarantee ให้ชำระเป็นส่วนแบ่งรายได้ซึ่งส่วนต่างตามข้างต้น ให้เลื่อนชำระออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากวันครบกำหนดชำระตามปกติ และแต่ละงวดชำระได้ 12 เดือนภาพดังกล่าวทำให้ลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด 4Q66 ขยับมาที่ 1.2 หมื่นล้านบาทจาก 1 หมื่นล้านบาท สิ้นงวดก่อน แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้าอยู่ในอัตราต่ำกว่าสิ้นงวด 3Q66 (2Q66 อยู่ที่ 6.5 พันล้านบาท) ประเด็นดังกล่าวยังคงต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป (เพิ่มเติม Sensitivity analysis หน้า 6)โดยอัตราการเพิ่มขึ้น QoQ ของ OPEX สูงกว่ารายได้ จากค่าใช้จ่ายพนักงานตามฤดูกาล ส่งผลให้ Net profit margin อยู่ที่ 22.3% ลดลงจาก 24.4% งวดก่อน
ปี 2566 ต่ำคาด 8% ลดกำไรปี 2567 – 69 เฉลี่ย 10%
กำไรปกติปี 2566 (ต.ค. 65 – ก.ย. 66) ที่ 9.2 พันล้านบาท (ปี 2565 ขาดทุนปกติ1 หมื่นล้านบาท) ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยคาดไว้ 8% และ Bloomberg consensus 5%หลักๆ มาจาก OPEX สูงกว่าประเมิน 17% อยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท (+26% YoY)เพราะค่าใช้จ่ายพนักงานเป็นหลัก หักล้างรายได้รวมที่ 4.8 หมื่นล้านบาท(+191% YoY) มากกว่าคาด 9% ทั้งจากค่าบริการผู้โดยสารขาออก หลังจำนวนผู้โดยสารรวมเท่ากับ 100 ล้านคน (+114% YoY, 71% ของ Pre-COVID) ดีกว่าสมมติฐานที่ 96 ล้านคน โดยรวม Norm profit margin อยู่ที่ 19% (คาด 23%)เพื่อสะท้อนกำไรปกติปี 2566 ที่ต่ำคาด ทำให้ฝ่ายวิจัยมีการปรับลดกำไรปกติปี2567 –69 ลงเฉลี่ย 10% จากการปรับเพิ่มสมมติฐาน OPEX เฉลี่ย 14% ส่วนฝั่งรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ โดยรวมทำให้กำไรปกติปี 2567 – 69 เท่ากับ2.3 หมื่นล้านบาท (+ 154% YoY), 2.5 หมื่นล้านบาท (+9% YoY) และ 2.8 หมื่นล้านบาท (+9% YoY) เทียบเท่า CAGR ที่ 45%
สำหรับแนวโน้มกำไรปกติ 1Q67 (ต.ค. – ธ.ค. 66) เติบโต QoQ ขับเคลื่อนด้วยจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ จากการเริ่มเข้าสู่ High Season ของท่องเที่ยวไทย สะท้อนจากตัวเลขผู้โดยสารระหว่างประเทศ ต.ค. 66 เพิ่ม 14% MoM และมีโมเมนตัม MoM ในช่วงที่เหลือของปี ประกอบกับค่าใช้จ่ายพนักงานลดลง ตามฤดูกาล ขณะที่ทิศทางกำไรปกติ 2Q67 (ม.ค. – มี.ค. 67) ขยายตัว QoQ ซึ่งปกติเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยทำจุดสูงสุดของปี ประเมินเป็นแรงส่งให้รายได้เพิ่มขึ้น และต่อเนื่องถึง Economies of scale
Outperform ทิศทางกำไรเติบโต และ DE&ROE ดีกว่ากลุ่มฯ
ภายหลังปรับลดกำไร อิง DCF - WACC -6.1% และลด Terminal Growth Rateจาก 4%เหลือ 3% สอดคล้องกับการปรับลดกำไร ให้ FV ปี 2567 ที่ 80 บาท (เดิม85 บาท) ให้คำแนะนำ Outperform จากโมเมนตัมกำไร QoQ ต่อเนื่องอีก 2ไตรมาส ขณะที่โครงสร้างทางการเงินมี D/E ที่ 0.7 เท่า และแนวโน้ม ROE เฉลี่ย19% สูงกว่าหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว อย่าง CENTEL (IBD/E ที่ 0.7 เท่า, แนวโน้มROE เฉลี่ยที่ 7%), ERW (IBD/E ที่ 1.8 เท่า, แนวโน้ม ROE เฉลี่ยที่ 13%) และMINT (IBD/E ที่ 1.3เท่า, แนวโน้ม ROE เฉลี่ยที่ 9%)
ประเด็นความเสี่ยงสำคัญ และ SENSITIVITY ANALYSIS
1. การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวแตกต่างจากที่มอง ย่อมส่งผลถึงรายได้จากกิจการการบินและที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน ตรงข้ามกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่โดยรายได้รวมปี 2567 – 68 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 10% บนสมมติฐานอื่นคงเดิม (ปี2569 – 72 คงเดิม) จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 24%ตามลำดับ ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2567 -2572) ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 1 บาท
2. กรณีคู่ค้าเชิงพาณิชย์ มีการปรับแก้สัญญา โดยทุก 20% ของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ต่ำกว่าสมมติฐานปี 2567 – 72 บนสมมติฐานอื่นคงเดิม ส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 –2572 ต่ำลงเฉลี่ยราว 16% และ FV อิง DCF (FCFF ปี 2567-2572) ลดลงประมาณ 12 บาท
3. Norm Profit Margin ปี 2567 – 2568 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 2% จากสมมติฐานปัจจุบันที่ 34% (ปี 2559 – 2562 Norm profit margin เฉลี่ยอยู่ที่ 40% มีการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 2%) จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) เฉลี่ย6% ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2566 -2571) ลดลง (เพิ่มขึ้น) 1 บาท
ESG ของ AOTEnvironment (E) นำหลักการวิธีการแก้ไขมลพิษทางเสียงอย่างสมดุลของ ICAOมาใช้ในการดำเนินงาน อาทิ การลดเสียงที่อากาศยาน สนับสนุนหรือรณรงค์ให้สายการบินใช้อากาศยานที่มีการออกแบบหรือเครื่องยนต์ที่ปล่อยเสียงต่ำกว่าปัจจุบัน โดยมีสถานีตรวจวัดระดับเสียงภาวรในสนามบินสุวรรณภูมิราว 19 แห่ง,ภูเก็ต 4 สถานีและเชียงใหม่ 4 สถานี นอกจากนี้ด้านคุณภาพอากาศทาง AOT จัดให้มีการตรวจสอบสภาพยานพาหนะให้อยู่ในสภาพดีไม่มีการปล่อยมลพิษเกินที่กฎหมาย
(S) ช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ติดสนามบิน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ช่วงCOVID-19 มีแจกถุงยังชีพและน้ำดื่ม รวมถึงเปิดช่องทางให้ชุมชนเข้ามาขายสินค้าในพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านจากสุวรรณภูมิแฟร์
Governance (G) ต่อต้านการคอร์รัปชั่นตาม CAC และมีการกำกับดูแลกิจการสอดคล้องกับแนวทางของ ก.ล.ต.
ภาสกร หวังวิวัฒน์เจริญ
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 093372