Today’s NEWS FEED

News Feed

NEP เผย Q2/66 ขาดทุน 6.12 ลบ.ลดลงจากงวดเดียวกันปีก่อนขาดทุน 11.73 ลบ. พร้อมเดินหน้าปรับแผนธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจดําเนินต่อไปและเติบโตต่อไป

667

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์ (31 กรกฎาคม 2566)-------นายชาญวิชญ์ เผ่าพงษ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ NEP เปิดเผยว่าบริษัทฯ มีผลการดําเนินงานสําหรับงวด 3 เดือนของไตรมาสที่1 ปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีผลขาดทุนสุทธิ 6.12 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 11.74 ล้านบาท ผลการดําเนินงานขาดทุนลดลง 5.62 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุหลักที่สําคัญดังนี้

1. รายได้จากการขายและรายได้อื่น บริษัทฯ มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่1 ปี 2566 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 จํานวน 35.32 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2565 มีรายได้จากการขาย 92.24 ล้านบาท ลดลง 56.92 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 61.71 เนื่องจากยอดขายผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติกที่ลดลง จากการที่บริษัทยกเลิกสายการผลิตกระสอบพลาสติกรายได้อื่นในปี 2566 มีรายได้ 0.74 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2565 มีจํานวน 2.71 ล้านบาท ลดลง 1.97 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาสที่1 ปี 2565 บริษัทมีรายได้อื่นจากค่าเช่าและค่าบริการเครื่องจักรผลิตกระสอบจากบริษัทวาวาแพค จํากัด

2. ต้นทุนขาย มีกําไรขั้นต้น ไตรมาส 1 ปี 2566 บริษัทมีต้นทุนขาย 38.36 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2565 มีต้นทุนขาย 97.07 ล้านบาท ลดลง 58.71 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 60.48 ในขณะที่ยอดขายลดลงร้อยละ 61.71 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีต้นทุนต่อหน่วยที่สูง จึงยังคงมีผลขาดทุนขั้นต้นอยู่ร้อยละ 8.61จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธุรกิจ โดยการขายกระสอบพลาสติกในลักษณะ Outsourcing หรือ Trading โดยการว่าจ้างผลิตจากผู้ผลิตรายอื่นที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจแทนที่การผลิตเอง ส่งผลให้บริษัทมีกําไรขั้นต้นจากการขายกระสอบพลาสติกที่ค่อนข้างแน่นอน ถึงแม้จะมียอดขายลดลงก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไตรมาส 1 ปี 2566 ผลิตภัณฑ์ Flexible Packaging ยังมีผลขาดทุนขั้นต้น เนื่องจากยอดขายและผลผลิตที่ยังน้อยกว่าเป้าหมาย ทําให้กําลังการผลิตไม่ครอบคลุมกับต้นทุนคงที่ (Fix cost) การควบคุมของเสียยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด ดังนั้นบริษัทจึงต้องเร่งแก้ปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการผลิต สําหรับปัจจัยที่มีส่วนสําคัญในปีนี้คือราคาวัตถุดิบ อาทิ เม็ดพลาสติก ฟอลเมชนิดต่าง ๆ และสีพิมพ์ที่มีราคาลดลงจากปีก่อน แต่ยังมีความผันผวนทุกสัปดาห์ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทําให้ส่งผลต่อการกําหนดราคาขายสินค้าที่ลูกค้ามีการสั่งซื้อล่วงหน้าไว้แล้ว

3. ต้นทุนในการจัดจําหน่าย ไตรมาส 1 ปี 2566 มีต้นทุนในการจัดจําหน่าย 2.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.47 ของยอดขายเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 ต้นทุนในการจัดจําหน่าย 2.32 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.52 ของยอดขาย ต้นทุนในการจัดจําหน่ายสูงขึ้น เนื่องจากการผลิตสินค้าตัวอย่าง,ค่าใช้จ่ายเดินทางฝ่ายขายที่สูงขึ้น

4. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ไตรมาส 1 ปี 2566 มีค่าใช้จ่ายในการบริหาร 7.37 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 20.87 ของรายได้เทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 มีค่าใช้จ่ายในการบริหาร 11.46 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.42 ของรายได้ค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 4.09 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เกิดความกระชับและให้ความสําคัญกับการลดค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง แต่หากเทียบเป็นสัดส่วนจากรายได้จะมีสัดส่วนที่สูงกว่าปีก่อน เนื่องจากยอดขายที่ลดลง

5. ค่าตอบแทนผู้บริหาร ไตรมาส 1 ปี 2566 มีค่าตอบแทนผู้บริหาร 3.24 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 มีค่าตอบแทนผู้บริหาร 3.79 ล้านบาท ลดลง 0.55 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 14.51 เนื่องจากบริษัทมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร

6. ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ไตรมาส 1 ปี 2566 มีค่าใช้จ่ายทางการเงิน 0.13 ล้านบาทเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2565 มีจํานวน 0.15 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายทางการเงินใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทจะเป็นดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อและดอกเบี้ยจากการซื้อวัตถุดิบโดยชําระผ่านธนาคาร (TR) โดยที่บริษัทไม่มีหนี้สินระยะยาวจากสถาบันทางการเงิน

7. ส่วนแบ่งผลกําไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริษัทรวม ไตรมาส 1 ปี 2566 ส่วนแบ่งกําไรจากบริษัทรวมมีจํานวน 9.56 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2565 มีจํานวน 8.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.46 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทรวมมีผลกําไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อน

ส่วนแนวทางในอนาคต สําหรับทิศทางธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2566 ซึ่งปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกก็ยังมีผลกระทบกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่นภาระสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุดซึ่งส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไปทั่ว
โลก รวมทั้ง NEP ด้วย ซึ่งบริษัทฯ ต้องมีการปรับแผนธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจดําเนินต่อไปและเติบโตต่อไปได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ว่า “NEP ต้องเป็นผู้นําด้าน Flexible Packaging Solution and
Innovation” ส่วนในเรื่องธุรกิจขายกระสอบพลาสติกที่มีกลยุทธ์แบบ Outsourcing นั้นเนื่องจากมีฐานลูกค้าเดิมและการขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ มาเพื่อเพิ่มยอดขายและมีกําไรสะสมมากขึ้นและเร่งขยายการขายด้าน Flexible Packaging โดยจะดําเนินการด้าน
Sales Strategy เพื่อประเมินลูกค้า คู่แข่ง ราคาการแข่งขันตามกลุ่ม Customer Segment และดูแลทั้งขบวนการผลิต รวมถึงวางแผนการตลาดในการผลิตและพัฒนาสินค้า (Product Innovation) ในรูปแบบของสินค้า NEP เพื่อให้ได้กําไรสะสมมากขึ้นใน
แต่ละสินค้า เพื่อให้สามารถครอบคลุม (Fixed Cost) เน้นในเรื่องทักษะของพนักงานในการ Technology Transfer ระหว่างกันเพื่อให้มีการพัฒนาด้านทักษะการทํางานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุก ๆ ด้าน รวมถึงควบคุมของเสียของการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานตรวจสอบได้ เพื่อนํามาเก็บเป็นข้อมูลอ้างอิงในการแก้ปัญหากการผลิต ตลอดจนการสั่งซื้อวัตถุดิบ โดยติดต่อกับผู้ผลิตโดยตรง โดยทําเป็น Frame Supplier Contract 1 ปี และ Track กับ Frame Contract ทุก ๆ 3 เดือน และหา Supplier รายใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการแข่งขันราคากัน

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

หมดแรง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นตลาดหุ้นไทย ไร้ปัจจัยบวก ไร้แรงกระตุ้น ก็หมดเวลาได้ไปต่อ ด้วย งบบจ.แจ้งผลงานไตรมาสแรก....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้