แวดล้อมด้วยปัจจัยบวก
ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค.65 ของสหรัฐอยู่ที่ 8.5%YoY ต่ำกว่าคาด และ ต่ำกว่าเดือน ม.ย.65 ซึ่งอยู่ที่ 9.1% ถือเป็นสัญญาณบวก ทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบยของ Fed จะผ่อนคลายลง โดยอาจเห็นการปรับขึ้นในรอบถัดไปที่ 0.5% และ 0.25% ตามลำดับ ภาพดังกล่าวหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นแรง ซึ่งเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นบ้านเรา ส่วนในบ้านเรา กนง. มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตามคาด ซึ่งเรามองว่าเป็นกลไกทำให้เงินบาท ไม่กลับไปอ่อนค่า หนุนให้Fund Flow ไหลเข้า ส่วนผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนมีไม่มากเนื่องจากหุ้นภายใต้ ASPS Coverage มีอัตราส่วน Net Gearing เพียง0.76 เท่า โดยกลุ่มที่เป็น Net Cash ซึ่งได้ประโยชน์ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์,ยานยนต์ แต่ก็มีกลุ่มที่เสียประโยชน์ที่มีGering สูงเช่น ICT,ขนส่ง,อาหาร เป็นต้นคาด SET Index วันนี้น่าจะดีดตัวขึ้น กรอบการเคลื่อนไวห 1610 – 1630 จุดพอร์ตจำลองให้ลดเงินสด 10% เป็น 0 โดยเข้าซื้อBH น้ำหนัก 10% หุ้น Top Pickเลือก BH, KTB และ TPIPL
เงินเฟ้อสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาด หนุนตลาดหุ้นดีดตัวกลับ
สหรัฐฯรายงานเงินเฟ้อเดือน ก.ค. อยู่ที่ +8.5% yoy ต่ำกว่าตลาดที่คาด 8.7% yoy ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน อยู่ที่ +5.9% yoy ต่ำกว่าตลาดคาด +6.1% yoy ภาพเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงกว่าคาด ทั้ง CPI และ Core CPI ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ดีดตัวกลับราว 1.6%-3%และตลาดหุ้นยุโรป +0.2-1.2%
หากมาดู Fed Watch Tool นักลงทุนคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.5% ในการประชุมครั้งหน้า ด้วยโอกาส 62.5% ขณะที่มีเพียง 37.5% ที่คาดดอกเบี้ยยังขึ้น 0.75%ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปลายปีประเมินอยู่ในช่วง 3.50% - 3.75% ด้วยโอกาสใกล้ๆกันที่ระดับ 40%
สรุป อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯที่มีแนวโน้มลดลงในอนาคต ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า FEDจะขึ้นดอกเบี้ยไม่ร้อยแรงเช่นช่วงที่ผ่านมา และทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯดีดตัวกลับรวมถึงไทยคาดได้ Sentiment เชิงบวกจากประเด็นดังกล่าว โดยคาดวันนี้แกว่งในกรอบ 1610-1630 จุด
กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ดีต่อ BANK, ประกัน, หุ้นใหญ่ FLOW ไหลเข้า
กนง. แถลงผลการประชุมครั้งที่ 4 โดยคณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก0.50% เป็น 0.75% โดยให้มีผลทันทีโดยธปท. แถลงมุมมองต่อเศรษฐกิจในระยะถัดไปมีแนวโน้มฟื้นตัว จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคที่ฟื้นตัว ดีขึ้น และคาดเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาด COVID-19 ภายในสิ้นปีนี้ โดยความเสี่ยงที่ต้องติดตามต่อ คือ ต้นทุนและค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระดับสูง(CPI เดือนล่าสุด +7.6%YoY) ด้านมุมมองเงินเฟ้อ ธปท.คาดปี 2565 จะทรงตัวระดับสูงใกล้เคียงกับประมาณการเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 6.2%YoY ก่อนที่เงินเฟ้อจะทยอยปรับลดในปี 2566 ที่คาดไว้ 2.5%YoYการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ทำให้Spread ของอัตราดอกเบี้ยไทย-สหรัฐฯ แคบลงที่ระดับ1.75% (ก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 2%) ถือเป็นแรงฉุดรั้งไม่ให้ค่าเงินบาทกลับไปอ่อนค่าเช่นในอดีต และเป็นแรงจูงใจให้ Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยระยะถัดไป
ผลการประชุม กนง. เป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยฯคาด และเชื่อว่าในการประชุม 2 ครั้งที่เหลือของปีจะขึ้นดอกเบี้ยฯ อีกร้อยละ 0.25 ทำให้ดอกเบี้ย ณ สิ้นปีอยู่ที่ 1.25% ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยฯไทยและสหรัฐฯน้อยลง และลดแรงกดดันการอ่อนค่าของเงินบาทมองเป็นบวกต่อ Fund Flow ต่างชาติที่อาจไหลเข้าตลาดหุ้นไทย และบวกโดยตรงต่อหุ้นกลุ่ม ธ.พ. (KBANK KTB SCB) กลุ่มประกัน (BLA) และกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่เป้าหมาย Flow ต่างชาติ (PTT SCC ADVANC GULF CPALL CRC) รวมถึงหุ้นที่สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง(ติดตามใน Market Talk บทความถัดไป)
ค้นหาหุ้นมีสถานะการเงินแข็งแรง ทำกำไรในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แนะ KTBBH TPIPL
วานนี้กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 0.75% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4ปี และน่าจะเห็นการทยอยปรับขึ้นต่อในช่วงที่เหลือของปี ประเด็นดังกล่าวอาจกดดันหุ้นที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหุ้นมีการกู้เงินจากธ.พ. เพราะอัตราดอกเบี้ยจะมีโอกาสลอยตัวขึ้นได้อีกในอนาคต ในทางกลับกันหุ้นที่มีสถานะการเงินแข็งแกร่ง และมีระดับ Net Gearing (หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน) อยู่ในระดับต่ำ หรือเป็น Net Cash(มีเงินสดมากกว่าหนี้สินที่มีดอกเบี้ย) จะถือเป็นหุ้นที่มีเกราะป้องกันในช่วงเวลาดอกเบี้ยขาขึ้นได้ดี
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการคำนวณ และวิเคราะห์ Net Gearing จากกลุ่มตัวอย่างหุ้นในตลาด115 บริษัท (สัดส่วน 60% ของ Market Cap รวม) พบว่า มีNet Gearing ราว 0.76% ซึ่งมาจากการกู้เงินผ่านธ.พ.สัดส่วน 41% และการออกตราสารหนี้ 48% แสดงว่าการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะกระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาระดอกเบี้ยน่าจะค่อนข้างจำกัดและหากแบ่งข้อมูลออกเป็นราย Sector พบว่า Sector ที่มีสถานะเป็น Net Cash คือETRON, PERSON, AUTO และ Net Gearing สูง >1 คือ TOURISM, FOOD, STEEL,TRANS, ICT ส่วนกลุ่มที่เหลือมี Net Gearing < 1 (รายละเอียดดังตารางทางด้านท้ายบทวิเคราะห์)
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย ASPS ยังคัดกรองลงมาเป็นรายหุ้นที่น่าลงทุนในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นพร้อมกับมีโอกาสได้รับเงินปันผลระหว่างกาลในช่วงนี้โดยผ่านเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. เป็นหุ้นสถานะการเงินแข็งแกร่ง (มีสถานะ Net Cash หรือ Net Gearing <1)
2. เป็นหุ้นที่ปกติจะมีการจ่ายปันผลระหว่างกาล มักจะ Outperform ตลาดได้ดีในเดือน ส.ค.
3. มี Upside ฝ่ายวิจัย แนะนำ “ซื้อ
กลุ่มหุ้นดังกล่าวน่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น ทั้งสามารถรับมือกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นได้ และยังมีโอกาสได้ปันผลติดมือในช่วงนี้ หุ้นเด่นประเด็นนี้แนะนำ BH,TPIPL, M, DRT, VGI, SPALI, SCC เป็นต้น
สำหรับกลยุทธ์วันนี้ ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบจำกัด 1610 -1630 จุด แนะนำหุ้นได้ประโยชน์ดอกเบี้ยขาขึ้น KTB (กำไรเติบโตเด่นสุดใน ธ.พ. ขนาดใหญ่),หุ้นสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง BH (กำไรอยู่ในช่วง Recovery), TPIPL (เห็นแนวโน้มกำไรฟื้นตัวได้ดี)
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985