Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews : CKP ปักธงปี 68 ดันกำลังการผลิตไฟฟ้า แตะ 5,000 MW

2,662

HotNews : CKP ปักธงปี 68  ดันกำลังการผลิตไฟฟ้า แตะ 5,000 MW

 

 

สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(21 ตุลาคม 2562) CKP คาดปี63 อัตรากำไรสุทธิแตะตัวเลขสองหลัก หลังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ที่ COD เต็มปี    ขณะที่คาดปี62 รายได้ใกล้เคียงปีก่อนที่ทำได้ 9.15 พันลบ. รับผลกระทบภัยแล้งใน Q3/62  พร้อมปักธงปี 68 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าแตะ 5,000 MW พร้อม อยู่ระหว่างศึกษาลุยโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว-เมียนมา

 

 

 

นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP เปิดเผยว่า บริษัทฯยังคงมองหาโอกาศในการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวมเพิ่มขึ้นแตะที่ 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 จากปัจจุบันอยู่ 2,167 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมในสปป.ลาวและในประเทศเมียมาร์ รวมถึงโครงการโซลาร์ รูฟท็อป และโรงไฟฟ้าประเภท SPP ตามแผน PDP 2018ด้วนเช่นกัน

 

 

"โครงการในอนาคตเราจะเน้นพลังน้ำเป็นหลักในลาวตอนนี้เราดูโซนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ส่วนเมียนมาเราก็ศึกษาอยู่มองว่าน่าจะเป็นแม่น้ำสาละวิน เพราะดูแล้วมีศักยภาพและโฟลว์น้ำก็เยอะแถมมีความชันเยอะด้วยมันสามารถทำเป็นเขื่อนกักเก็บน้ำได้และตอนนี้พม่าก็ขาดแคลนไฟอยู่ด้วยเช่นกันเราจึงมองตรงนี้เป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน" นาย ธนวัฒน์ กล่าว

 

 


ด้านนายธิติพัฒน์ นานานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานการเงินบัญชี บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดว่าจะมีโอกาสเห็นอัตรากำไรสุทธิแตะตัวเลขสองหลักในปี 2563 จากทุกปีที่ผ่านมาเป็นตัวเลขหลักเดียว เนื่องจากบริษัทฯจะมีการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์(COD)ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)แบบเต็มปี

 

 


ขณะที่ผลการดำเนินงานของปี 2562 บริษัทฯคาดว่ารายได้จะใกล้เคียงกับปี 2561 ที่ทำได้ 9,156 ล้านบาท หลังไตรมาส3/2562 บริษัทฯประสบปัญหาภัยแล้งส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าระบบน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทฯยังมีปริมาณไหลเข้าระบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ขนาดกำลังการผลิต 615 เมกะวัตต์จำนวนมากอยู่

 

 

 


อีกทั้ง บริษัทฯยังเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,285 เมกะวัตต์ ที่บริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วน 37.50% ซึ่งโครงการดังกล่าวจะกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์วันที่ 29 ตุลาคม 2562 โดยแบ่งเป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 1,220 เมกะวัตต์ และขายให้กับการไฟฟ้าของ สปป.ลาว จำนวน 60 เมกะวัตต์

 

 

ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่า บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด จะมีรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าในรูปแบบเชิงพาณิชย์แบบเต็มปีประมาณ 13,000-14,000 ล้านบาท และมีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12-15%

 

 

 

เคทีบีฯ แนะซื้อ CKP เป้า 6.50 บาท/หุ้น

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ออกบทวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "ซื้อ" (เดิม "ถือ") แต่คงราคาเป้าหมายที่ 6.50 บาท อิงวิธี DCF (WACC 5.7%, no terminal growth) ปรับคำแนะนำขึ้นหลังประเมินราคาตอบรับปัจจัยลบไปแล้วและควรหันมาให้น้ำหนักกับประเด็นบวกที่รออยู่

 

 

ทั้งนี้เราประเมินกำไรปกติ 3Q19E ที่ 53 ล้านบาท (-87% YoY, -49% QoQ) จากภัยแล้งซึ่งทำให้โครงการหลัก NN2 แจ้งผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง -74% YoY, -47% QoQ และส่งผลให้คาดมี downside จากประมาณการกำไรปกติทั้งปี 2019E ราว 55% หลัง 3Q19E ซึ่งควรเป็น high season กลับเป็นไตรมาสที่แย่ที่สุดของปี

 

 

อย่างไรก็ตามราคาหุ้นที่ปรับตัวลงกว่า 20% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเรามองสะท้อนประเด็นลบผลประกอบการถูกกระทบจากภาวะภัยแล้งไปแล้ว และเป็นโอกาสให้เข้าซื้อหุ้นโดยประเมินตลาดควรหันมาให้น้ำหนักกับประเด็นบวกที่เกิดขึ้น ล่าสุด กฟผ. อนุมัติการ COD ของโครงการไซยะบุรี ปลดล็อคความกังวลของตลาดเรื่อง COD ล่าช้าหากน้ำไม่พอทดสอบระบบ ซึ่งการอนุมัติครั้งนี้จะทำให้โครงการสามารถ COD ได้ตามกรอบเวลาเดิม 4Q19E และหนุนผลประกอบการปี 2020E เติบโตโดดเด่นหลัง CKP จะมีกำลังการผลิตเพิ่มอีกกว่า 111% YoY

 

 

คาดกำไร 3Q19E ลดลงทั้ง YoY และ QoQ ผลกระทบจากภัยแล้ง ประเมินกำไรปกติ 3Q19E ที่ 53 ล้านบาท (-87% YoY, -49% QoQ) เป็นผลจากภัยแล้งที่ต่อเนื่องมาจากช่วงปลาย 2Q19 ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในโครงการหลัก NN2 (equity 258MW: 61% capacity contribution) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้โครงการดังกล่าวแจ้งผลิตไฟฟ้าได้ราว 300GWh เท่านั้น (-74% YoY, -37% QoQ) ในขณะที่โครงการ BIC 1-2 (equity 155MW: 36% capacity contribution) กลับมาผลิตไฟฟ้าได้ปกติ (ทรงตัว YoY, +20% QoQ) หลังปิดซ่อมบำรุงราว 15 วันในไตรมาสก่อนหน้า

 

 

มองข้ามกำไรปีนี้ ประเมินตลาดรับรู้ประเด็นภัยแล้งไปแล้ว ทั้งนี้กำไรปกติ 9M19E คิดเป็น 32% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2019E ของเรา ซึ่งเราประเมินมีโอกาสเกิด downside อยู่ราว 55% สาเหตุจากภาวะภัยแล้งซึ่งกระทบช่วง high season ของโรงไฟฟ้า hydro power plant ใน 3Q19E (ปี 2018 กำไรในไตรมาส 3 สร้าง earnings contribution ราว 70% ของกำไรทั้งปี) อย่างไรก็ตามเราประเมินข้อมูลดังกล่าวตลาดทยอยรับรู้ไปแล้วหลังราคาหุ้นปรับตัวลงราว -20% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

 

 

หันมาให้น้ำหนักกำไรปี 2020E เติบโตโดดเด่นหลังโครงการไซยะบุรีเตรียม COD ล่าสุด กฟผ. อนุมัติผ่านการ test run ทั้ง 7 units ซึ่งทำให้โครงการไซยะบุรีกำลังการผลิต 1,220MW (CKP ถือหุ้น 38%) สามารถ COD ได้ภายใน ต.ค.19 คลายความกังวลของตลาดกรณีการ COD อาจล่าช้าหากปริมาณน้ำไม่เพียงพอในการทดสอบระบบ โดยการตอบรับของ กฟผ. ส่งผลให้การ COD โครงการดังกล่าวกลับมาอยู่ในกรอบเวลาเดิม 4Q19 ซึ่งจะช่วยหนุนให้กำไรปกติปี 2020E กลับมาเติบโตโดดเด่นหลัง CKP จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกราว +111% YoY จากโครงการไซยะบุรี

 

 

Valuation/Catalyst/Risk
ราคาเป้าหมายที่ 6.50 บาท อิงวิธี DCF (WACC 5.7%, no terminal growth) ความเสี่ยงสำคัญคือสภาพอากาศซึ่งส่งผลต่อปริมาณน้ำที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโครงการหลัก (Hydro power plant) 

 

 

CKP

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้