Today’s NEWS FEED

News Feed

HotNews: TMB คลอดงบโค้ง3/60 กำไรพุ่ง8.6% NPL ลดมาที่ 2.44%

726

 

 

 HotNews: TMB  คลอดงบโค้ง3/60

กำไรพุ่ง8.6% NPL ลดมาที่ 2.44%


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(  17  ตุลาคม  2560 ) ------    TMB แจงกำไร Q3/60 โต8.6% จากปีก่อน  NPL ลดมาที่ 2.44%  หลัง  write off   เพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบที่อาจมีต่อผลการดำเนินงาน เผยสินเชื่อ 9  เดือนแรกโตราว 4%  ยันคงตั้งสำรองฯ อย่างรอบคอบเพื่อรักษาCoverage ratio ให้อยู่ในระดับสูง
    ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/60 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,003 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.0 จากไตรมาส 2/60 แต่เพิ่มขึ้น 8.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิ 9 เดือนแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 6,429 ล้านบาท 
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่ากำไรสุทธิไตรมาส 3/60 อยู่ที่ระดับ 2,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ขณะที่ตั้งสำรองหนี้สูญหนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า ระดับ 2,391 ล้านบาท ลดลง 5.9% จากงวดปีก่อน    ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารมีกำไรสุทธิ 6,429 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ณ สิ้นก.ย.60 มีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงมาอยู่ที่ 2.44% 
ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ลดลง 9 bps จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 3.11% ในไตรมาส 3/60 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และจากการนำสภาพคล่องส่วนเกินไปลงทุนชั่วคราวในสินทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนต่ำ อย่างไรก็ดีสำหรับรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ NIM ขยายตัว 4 bps มาอยู่ที่ 3.16% จากการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่ดี
  ทั้งนี้ จากการเติบโตของรายได้และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน กำไรจากผลการดำเนินงานหลักยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) ในไตรมาส 3/60 อยู่ที่ 5,048 ล้านบาท เติบโต 4.9% เทียบกับงวดปีก่อน และลดลง 1.7% จากไตรมาสก่อน ขณะที่ในงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ มี PPOP ทั้งสิ้น 6,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากงวดปีก่อน  
     สำหรับ NPL ลดลงมาอยู่ที่ 2.44% จากการ write off  เพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบที่อาจมีต่อผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ ธนาคารยังคงตั้งสำรองฯ อย่างรอบคอบเพื่อรักษาอัตราส่วนสารองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ให้อยู่ในระดับสูง ในไตรมาส 3/60 ธนาคารตั้งสำรองอยู่ที่ 2,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% จากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนรอบ 9 เดือนแรกของปี 60 ตั้งสำรองฯ ที่ 6,914 ล้านบาท เติบโต 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ Coverage ratio ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 141%
  ณ สิ้นเดือน ก.ย.60 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อ (หักรายได้รอตัดบัญชี) เป็นจำนวน 619,092 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 4.3% นับจากสิ้นเดือนธ.ค.59
          สำหรับในไตรมาส 3/60 ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 6,193 ล้านบาท ลดลง 1.2% จากงวดปีก่อน และลดลง 0.1% จากไตรมาสก่อน ขณะที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 2,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.2% จากงวดปีก่อน แต่ลดลง 1.3% จากไตรมาสก่อน ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย อยู่ที่ 3,184 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.1% จากงวดปีก่อน แต่ลดลง 3.8% จากไตรมาสก่อน 
  การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีปัจจัยหนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้ารายย่อย โดยการขายกองทุนรวมและแบงก์แอสชัวรันส์ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับทั้งไตรมาส 2/60 และไตรมาส 3/59 สำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมการเข้าถึงช่องทางการให้บริการของธนาคาร (Access fee) ซึ่งจะมีการรับรู้รายได้เป็นระยะเวลาเบื้องต้น 15 ปี จะช่วยเพิ่มฐานรายได้ค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์และหนุนการเติบโตของรายได้จากปีก่อนหน้า
สำหรับงวด 9 เดือนแรกปีนี้ สินเชื่อเติบโตได้ราว 4% จากต้นปี  แม้สินเชื่อเอสเอ็มอียังชะลอตัว แต่สินเชื่อลูกค้าบุคคล โดยเฉพาะจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง และสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ก็ยังคงขยายตัวเช่นกัน 
          ทางด้านเงินฝากเพิ่มขึ้น 1% นับจากต้นปี จากฐานเงินฝากลูกค้าบุคคล โดยใน 9 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารสามารถขยายเงินฝากจากลูกค้าบุคคลได้ 5% ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากเพื่อการทำธุรกรรม "ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี" (TMB All Free) ที่ขยายตัว 34% หรือเงินฝากเพื่อการออม "ทีเอ็มบี โน-ฟิกซ์" (TMB No-Fixed) และ ME ที่เติบโตได้ 14% และ 7% ตามลำดับ
   ในไตรมาสที่ 3/60 ธนาคารมี NPL ลดลงจากไตรมาส 2 เป็นจำนวน 167 ล้านบาท มาอยู่ที่ 18,041 ล้านบาท ซึ่งทำให้สัดส่วน NPL ขยับลดลงจาก 2.56% มาอยู่ที่ 2.44% และเริ่มส่งสัญญาณทรงตัวมากขึ้น     
    ทั้งนี้ ธนาคารยังคงสถานะเงินกองทุนในระดับสูง สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ภายใต้เกณฑ์ Basel III ที่อยู่ที่ 17.9% และ 13.6% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 9.75% และ 7.25% ตามลำดับ
  อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในงวดไตรมาส 3/60 ลดง 14% จากไตรมาสก่อน หลังตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้น 4.8% จากไตรมาสก่อน  
 สำหรับ ไตรมาสสุดท้ายปี 2560 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังคงมาจากการเติบโตของภาคส่งออก แม้ในไตรมาสนี้อาจเติบโตแผ่วลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.8 สูงกว่าประมาณการเดิม สำหรับเครื่องยนต์เศรษฐกิจด้านอื่นๆ ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ ที่คาดว่าจะเห็นเม็ดเงินลงทุนในส่วนของงบกลางปี 1.9 แสนล้านบาทมากขึ้น และภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มสดใสต่อเนื่อง โดยประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีอยู่ที่ 35 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปีที่แล้ว 
นอกจากนี้ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางที่ดี แม้จะยังคงไม่เข้มแข็งนัก ทำให้ TMB Analytics ปรับประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 จากเดิมร้อยละ 3.3 
 
ขณะที่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย)  ระบุในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ว่า    TMB ประกาศกำไรสุทธิใน 3Q17 อยู่ที่ 2.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% YoY แต่ลดลง 14.0% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 9.3% และ 10.5% ตามลำดับ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดกดดัน ขณะที่สินเชื่อใน 3Q17 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% QoQ และ 4.3% YTD มาจากสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตได้ดี 6.4% QoQ โดยเฉพาะอย่าง
3Q17 กำไรสุทธิ 2.0 พันล้านบาท +8.6% YoY แต่ -14.0% QoQ ต่ำกว่าคาด 9%
TMB ประกาศกำไรสุทธิใน 3Q17 อยู่ที่ 2.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% YoY แต่ลดลง 14.0% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 9.3% และ 10.5% ตามลำดับ จากค่าใช้จ่ายทางการตลาดกดดัน โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น YoY มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมจาก FWD ขณะที่ลดลง QoQ มาจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้น 4.8% QoQ จากการเร่ง write-off เพิ่มมากขึ้น และ NIM มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที 3.16% จาก 3.19% ใน 2Q17 เนื่องจากนำเงินที่ได้จาก FWD ไปพักไว้โดยลงทุนใน Interbank ซึ่งมีผลตอบแทนที่ต่ำ และมีการปล่อยสินเชื่อบ้านเพิ่มมากขึ้นซึ่งมีผลตอบแทนที่น้อยกว่า SME แต่ก็แลกมาด้วยคุณภาพของสินเชื่อที่ดีมากขึ้น     
สินเชื่อเติบโตได้ดีต่อเนื่องจากสินเชื่อบ้าน ขณะที่ NPL ปรับตัวลดลงได้ดีเหลือ 2.44%
สินเชื่อใน 3Q17 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% QoQ และ 4.3% YTD มาจากสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตได้ดี 6.4% QoQ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินเชื่อบ้าน ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่และ SME มีการหดตัวลง 2.6% และ 5.5% QoQ ตามลำดับ ในส่วนของ NPL Ratio ปรับตัวลดลงได้มาอยู่ที่ 2.44% จาก 2.56% ใน 2Q17 เนื่องจาก TMB มีนโยบายการ write-off หนี้เสียออกไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในอนาคต โดยใน 3Q17 มีการ write-off ออกไปอีก 2.3 พันล้านบาท ขณะที่มี Coverage Ratio ยังอยู่ในระดับสูงที่ 141% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 140%
ปรับคำแนะนำลงเป็น "ถือ" มูลค่าเหมาะสมปี 2018 ที่ 2.80 บาท 
  เราปรับคำแนะนำเป็น "ถือ" จากเดิมที่ "ซื้อ" มูลค่าเหมาะสมที่ 2.80 บาท ( อิง P/BV ปี 2017 ที่ 1.25x เทียบเท่า -1SD ย้อนหลัง 5 ปี) เพราะกำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าคาด และ Upside จำกัด 


----จบ---- 
 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

ไต่เส้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ มองดูหุ้นไทยไต่เส้น แถว 1370 +/- แบบพยาบามฝ่าด่าน 1380 จุด โดยเช้านี้ พี่ DELTA..

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้